วิวัฒนาการของพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีต้นกำเนิดไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจาก สาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Carophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่างๆที่เหมาะสม เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบ เรียกว่า คิวทิเคิล (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และเกิดสโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นต้น



ลักษณะป่าเฟิร์นที่พบได้ทั่วไปในโลกยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช
พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะ อย่างเซลล์ขพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบ เซลล์ลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยบทบาทของคลอโรฟิลล์ ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญวัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับที่พบในเซลล์สาหร่ายสีเขียวได้แก่ คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง (starth)
เมื่อพืชเจริญเติบโตเนื้อ้ยื่อที่เรียกว่าเนื้อเยื่อเจริญ (meristem) จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อต่างๆ อวัยวะใหม่ๆ เช่น ราก กิ่ง ใบ เพื่อเข้าหาแสงน้ำและแร่ธาตุ นอกจากนี้เนื้อเยื่อเจริญจึงพัฒนาเป็นแกมีโทไฟต์ และเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ในพืชที่โตอีกด้วย
ภาพแสดงลักษณะของเซลล์พืช
ภาพเปรียบเทียบลักษณะเซลล์สัตว์และเซลล์พืช

1. สามารถสร้างอาหารเองได้ เพราะมีคลอโรฟิลล์
2. เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่เคลื่อนไหวได้
3. มีการดำรงชีวิตแบบผู้ผลิต
4. สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีได้
5. เซลล์ มีผนังเซลล์
6. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เพราะไม่มีระบบประสาท
7. เซลล์เป็นแบบ Eukaryotic cell ( มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส )
เราสามารถจำแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชออกเป็น 8 ดิวิชั่น ดังนี้
1. ดิวิชั่นไบรโอไฟตา ( Bryophyta )
เป็นพืชดิวิชั่นเดียวที่จัดว่าเป็น พืชไม่มีท่อลำเลียง ( Non – vascular plant )
ไม่มีราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริงจะมีส่วนทำหน้าที่คล้ายราก ลำต้น ใบ ราก เรียกว่า Rhizoid (ไรซอย) ยึดเกาะ, ดูดอาหาร ลำต้น เรียกว่า Caulidium (คัวลิเดียม) ใบ เรียกว่า Phyllidium (ฟิลลิเดียม) สังเคราะห์แสง
เป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง ต้นเตี้ยคล้ายสาหร่าย วงจรชีวิตเป็นแบบสลับมี 2 ช่วง คือ
แกมีโตไฟต์ คือช่วงชีวิตของพืชที่มีส่วนคล้ายราก ลำต้น ใบ มีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า Anterridium และมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรียกว่า Archegomiun
สปอร์โรไฟต์ คือช่วงชีวิตที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกิดการงอกเจิญเป็นต้นสปอร์โรไฟต์จะอยู่บนแกมีโตไฟต์ ปลายของสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ทำหน้าที่สร้างสปอร์
ตัวอย่าง ได้แก่ มอส , ลิเวอร์เวิร์ต , ฮอร์นเวิร์ต
2. ดิวิชั่นไซโลไฟตา ( Psilophyta )
เป็นพืชที่มีท่อลำเลียง แต่มีวิวัฒนาการต่ำสุด , ไม่มีใบ ไม่มีรากและใบที่แท้จริงแต่มีใบเกล็ดเล็ก ๆ ตามข้อ
มีลำต้นที่แท้จริงมีสีเขียวขนาดเล็กเป็นเหลี่ยมแตกกิ่งเป็นคู่ มีวงชีวิต 2 ช่วงคือ
แกมีโตไฟต์ มีลำต้นขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ไม่มีสีเขียว มีไรซอย มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเมื่อมีการผสมพันธุ์แล้วเจริญเป็นสปอร์โรไฟต์ แกมีโตไฟต์จะสลายไป
สปอร์โรไฟต์ มีลำต้นขนาดเล็กตั้งตรงเหนือพื้นดิน มีสีเขียว ไม่มีใบหรือใบเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีอับสปอร์ที่บริเวณกิ่ง เรียกว่า สปอร์แรงเจียม (Sporangium) ตัวอย่าง หวายทะนอย หรือ ไซโลตัม
3. ดิวิชั่นไลโคไฟตา ( Lycophyta )
มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง บางชนิดมีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อยตามพื้นดิน มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า Phizoid
ใบมีขนาดเล็ก เรียงซ้อนกันเรียกว่า Porophill ทำหน้าที่ห่อหุ้มรองรับสปอร์ส่วนปลายยอดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงซ้อนกันเรียกว่า Strobilus ทำหน้าที่สร้างสปอร์
เมกะสปอร์แรงเจียม ( เพศเมีย )
ไมโครสปอร์แรงเจียม (เพศผู้ )
ตัวอย่าง พวก Lycopodium ได้แก่ ช้องนางคลี่ สามร้อยยอด พวก Selaginella ได้แก่ ต้นตีนตุ๊กแต ,พ่อค้าตีเมีย ,หญ้าร้องไห้ ,เฟือยนก
4. ดิวิชั่นสฟีโนไฟตา ( Sphenophyta )
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง ลำต้นขนาดเล็ก มีสีเขียว ต่อกันเป็นข้อและปล้องชัดเจน ใบไม่มีสีเขียวแต่มีลักษณะคล้ายเกล็ดแตกออกรอบๆข้อ ปลายลำต้นที่เจริญเต็มที่ จะมีกลุ่มที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์เรียกว่า Strobilus รากเจริญจากข้อของลำต้นใต้ดิน ช่วงชีวิตที่เด่นคือ สปอร์โรไฟต์
ตัวอย่าง ( Equiselum ) หญ้าถอดปล้อง , สนหางม้า , หญ้าหูหนวก , หญ้าเหงือก
5. ดิวิชั่นเทอโรไฟตา ( Pterophyta )
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ ใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนเป็นวง ระยะสปอร์โรไฟต์ จะมีกลุ่มอับสปอร์อยู่ใต้ท้องใบเรียกว่า Sorus
ระยะแกมีโตไฟต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นสีเขียวบางๆ คล้ายรูปหัวใจเรียกว่า Prothallus
ตัวอย่าง พวกเฟิร์น ผักกูด ย่านลิเภา ผักแว่น ชายผ้าสีดา
6. ดิวิชั่นโคนิเฟอโรไฟตา ( Coniferophyta )
- มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
- ใบมีขนาดเล็กเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปเข็ม
- ลำต้นสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขา มีเนื้อไม้มาก
- เป็นพวกแรกที่อาศัยลมในการผสมพันธุ์
- บริเวณปลายกิ่งจะมี Cone หรือ Strobilus เป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเรียงซ้อนกันแน่น ( เพศเมีย )
- มีเมล็ดใช้สำหรับสืบพันธุ์ เมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้มจะติดอยู่กับส่วน Strobilus ช่วงชีวิตที่เด่นคือ สปอร์โรไฟต์( อาศัยเพศ )
ตัวอย่าง สนสองใบ , สนสามใบ
7. ดิวิชั่นไซแคโดไฟตา ( Cycadophyta )
- มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
- ลำต้นเตี้ย มีขนาดใหญ่
- ใบเป็นใบประกอบ มีขนาดใหญ่คล้ายใบมะพร้าวแต่เป็นกระจุกที่ส่วนยอด
- มีเมล็ดใช้ในการสืบพันธุ์มี Cone เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้มเหมือนพืชพวกสน งอกได้ทันทีไม่ต้องฟักตัว
ตัวอย่าง ต้นปรง
8. ดิวิชั่นแอนโทไฟตา ( Anthophyta )
- มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในพวกพืชมีท่อลำเลียง
- มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
- มีระบบลำเลียงเจริญดี มีท่อลำเลียงน้ำ ( Xylem ) และท่อลำเลียงอาหาร (Phloem)
- มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม
- การปฏิสนธิ เป็นแบบซ้อน Double Fertilization การปฏิสนธิ 2 ครั้ง
ตัวอย่าง พืชมีดอก แยกได้ออกเป็น พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
พืชใบเลี้ยงคู่
1. มีใบเลี้ยง 2 ใบ
2. เส้นใบเป็นแบบร่างแห
3. ใบเลี้ยงชูเหนือพื้นดิน
4. ระบบรากแก้ว
5. ระบบท่อลำเลียงเป็นวงรอบข้อ
6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 4-5
7. รากจะมีท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหาร 4 แฉก
8. มี Cambium และมีการเจริญทางด้านข้าง
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
1. มีใบเลี้ยง 1 ใบ
2. เส้นใบเรียงแบบขนาน
3. ใบเลี้ยงไม่ชูเหนือพื้นดิน
4. ระบบรากฝอย
5. ระบบท่อลำเลียงกระจัดกระจาย
6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 3
7. รากจะมีท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารมากกว่า 4 แฉก
8. ไม่มี Cambium และไม่มีการเจริญทางด้านข้าง
พืชดอก พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อย (subclass) โดยแบ่งตามจำนวนใบเลี้ยงในเมล็ดได้ดังนี้
1. ใบเลี้ยงเดี่ยวพืชกลุ่มนี้มีใบในเมล็ดเพียงหนึ่งใบในโลกนี้มีพืชใบเลี้ยงเดี่ยวประมาณ 5 หมื่นชนิด ตัวอย่างวงศ์พืชที่อยู่ในชั้นย่อย ใบเลี้ยงเดี่ยวนี้ เช่น poaceae ( หรือ วงศ์ปาล์ม วงศ์หญ้า วงศ์กล้วไม้)
2. ใบเลี้ยงคู่ (Dicotyleddonae) พืชในกลุ่มนี้มีใบในเมล็ดสองใบ ในโลกนี้มีพืชใบเลี้ยงคู่มากมาประมา225,000 ชนิด ตัวอย่างวงศ์พืชที่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยเช่น Fabaceae ( วงศ์ถั่ว วงศ์กะหล่ำ วงศ์มะเขือเทศ วงศ์ทานตะวัน
จัดทำโดย
1. นายเจตริน สุระรัมย์ เลขที่1
2.นายธิติ วงค์กันทะ เลขที่ 5
3.น.ส.ชลทัย พิชัยกาล เลขที่17
4.น.ส.ณัตตตยา โคนประโคน เลขที่ 18
5.น.ส.พนัสดา อนันต์ เลขที่ 21
6.น.ส. สิรินทร์พร นงค์นวน เลขที่ 28
7.น.ส.อุษา สภาสุวรรณกุล เลขที่ 33